หลายๆ คนคิดอยากหาวิธีการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากรู้สึกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นไม่มีความมั่นคง ถึงแม้ว่าจะมีรายรับที่แน่นอนในทุกเดือน แต่ว่าเราจะโดนเลิกจ้างวันไหนก็ไม่รู้ เพราะบริษัทจ้างเราทำงานได้ก็เลิกจ้างเราทำงานได้เช่นกัน เรียกว่าอนาคตไม่แน่นอนจริงๆ หลายคนจึงคิดที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีที่มองหาความมั่นคงให้ชีวิตของตนเอง แต่ในความเป็นจริงนั้นการทำธุรกิจส่วนตัวนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะกว่าจะมีธุรกิจส่วนตัวขึ้นมาได้นั้นต้องประกอบขึ้นมาจากหลายอย่าง
และเมื่อพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจดูเหมือนว่าปัญหาแรกทีเจอเลย นั่นก็คือเงินทุนที่จะนำมาเริ่มต้นทำธุรกิจ ผู้คนทั่วไปมักคิดว่าจะต้องเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง จะต้องไปกู้ยืมเงินมาเริ่มต้นลงทุนในช่วงแรก แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจแบบ (เกือบ) ไม่มีเงิน หรือเริ่มต้นได้ด้วยเงินไม่มากหากเรารู้จักวิธีการจัดการ และบทความนี้จะมาอธิบายวิธีการเหล่านั้น เพราะไม่อยากให้ทุกคนหยุดความตั้งใจหรือความใฝ่ฝัน ทั้งที่ยังไม่ได้เริ่มต้นเลย
เนื่องจากธุรกิจที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นที่ธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นได้โดยไม่ต้องลงทุนเงินมาก ไม่ต้องใช้พนักงาน ไม่ต้องมีออฟฟิศ และอาจไม่ต้องใช้แม้กระทั่งแผนธุรกิจในระยะยาว
ก่อนอื่นเราต้องทราบจำนวนเงินที่เราจำเป็นต้องใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ
สิ่งที่สำคัญอันดับแรกเราต้องมาประเมินก่อนว่าธุรกิจของเรา ต้องการเงินลงทุนเริ่มต้นต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แล้วเราค่อยมาหาทางลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
พิจารณาค่าใช้จ่ายต่างๆในการเริ่มต้นธุรกิจ:
- ค่าใบอนุญาติต่างๆ อาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับธุรกิจที่คุณเลือกที่จะทำ
- พื้นที่สำนักงาน นี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่สุด
- และคุณไม่สามารถละเลยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เช่นค่าอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ ค่าสาธารณูปโภคบริการทำความสะอาด
- และไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานนอกสำนักงานเช่นเงินเดือนและค่าดูและภาษี
- วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน คอมพิวเตอร์หรือคุณต้องการเครื่องจักรหรือซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่?
- สินค้าวัถุดิบจากผู้ผลิต หรือค่าเช่า ค่าบริการรายเดือน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
- ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าปรึกษาทนายความ ตลอดจนกระบวนการพัฒนาธุรกิจและการตลาด
- พนักงาน ผู้รับเหมา หากคุณไม่สามารถทำคนเดียวได้คุณจะต้องมีคนจ่ายเงินเดือน
จากรายการค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาเรามีสองเส้นทางหลักในการเริ่มต้นธุรกิจ ก็คือลดต้นทุนทุกอย่าง หรือเพิ่มทุนที่มีอยู่ของคุณจากแหล่งเงินกู้ภายนอก คุณมีสามตัวเลือก
3 วิธีการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวแบบ (เกือบ) ไม่มีเงิน
1.ลดความต้องการของคุณ
ตัวเลือกแรกของคุณคือการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของคุณเพื่อตอบสนองความต้องการให้น้อยลงตามที่ระบุไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่นหากคุณวางแผนที่จะเริ่มต้นมีบริษัท ในฐานะที่ปรึกษาหรืออาชีพอิสระคุณสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าจ้าง “พนักงาน” ของคุณโดยการเป็นพนักงานเพียงคนเดียวในตอนเริ่มต้น หากคุณไม่ต้องการพื้นที่สำนักงานคุณสามารถทำงานได้จากที่บ้าน คุณสามารถลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง เช่น ค่าเช่าค่าน้ำ ค่าไฟ คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากได้ตั้งแต่เริ่มต้น
อย่างไรก็ตามมีค่าใช้จ่ายที่คุณจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ภาษี ค่าเช่าซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ น่าจะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่กี่พันบาท
2.อุ่นเครื่อง
แทนที่จะก้าวเข้าสู่โหมดธุรกิจเต็มรูปแบบคุณอาจจะเริ่มต้นด้วยวิธีพื้นฐานด้วยการ “อุ่นเครื่อง” เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวเว็บบล็อกเขียนอธิบายบริการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้อื่นและคุณสามารถทำออกมาได้ดี เผยแพร่ออกไปบนโลกออนไลน์ แนะนำเว็บบล็อกนั้นกับเพื่อนๆบน Social network
หากคุณสามารถเริ่มต้นด้วยการประกอบอาชีพอิสระ คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจำนวนมากตั้งแต่เริ่มต้นได้ และคุณยังไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ หากยังไม่ได้จดเป็นนิติบุคคล
สำหรับการทำเอกสารต่างๆ ให้เป็นมืออาชีพ อย่าง เปิดใบเสนอราคา เปิดใบวางบิล เปิดใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน เปิดใบสั่งซื้อ เพิ่มค่าใช้จ่าย เปิดใบหัก ณ ที่จ่าย เราสามารถใช้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ เพราะถึงแม้จะเริ่มต้นทำงานด้วยตัวคนเดียว แต่การติดต่อสื่อสารและผลงานด้านบริการต้องให้ออกมาแบบมืออาชีพด้วย
เมื่อเราสะสมประสบการณ์และมีเงินทุนสะสมมากขึ้น วันนั้นเราสามารถที่จะขยับขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นได้
3.ขยายกิจการ
เมื่อเราเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวแบบ (เกือบ) ไม่มีเงิน จากจากวิธีการที่ได้แนะนำไปแล้ว จนเมื่อเริ่มมีแผนธุรกิจที่เป็นรูปเป็นร่าง เริ่มสร้างรายได้และมีโอกาสที่จะเติบโตอย่างชัดเจน จนต้องการขยายขนาดของกิจการที่ทำให้ใหญ่ขึ้น และต้องการใช้เงินลงทุนที่มากขึ้น การมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาใช้ต่อยอดและขยับขยายกิจการจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการทั้งหลายมองหา การมีตัวช่วยที่ดีย่อมช่วยให้กิจการนั้นดำเนินไปได้เร็วกว่าการไม่มีตัวช่วยใดๆ ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ SME ไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งความรู้หรือแหล่งเงินทุน โดยหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ SME ในการทำธุรกิจ มีทั้งมาจากภาครัฐและเอกชน
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up & Innovation ของ บสย.
- โครงการสินเชื่อประชารัฐเพื่อ SMEs ของ SMI
- โครงการ Startup Voucher จาก สวทช. (NSTDA)
- โครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
ทั้งสามวิธีการเหล่านี้คุณจะสามารถลดการลงทุนทางการเงินส่วนบุคคลของคุณให้ลดลงมากจนทำให้คุณมองเห็นโอกาสที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองได้ไม่อยาก เพียงแต่คุณอาจต้องเสียสละเรื่องอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ แต่นี่จะเป็นประสบการณ์ที่ดี ให้คุณทำธุรกิจของคุณให้ประสบความสำเร็จ
ระยะทางสู่เป้าหมายเป็นอุปสรรค์สำคัญที่จะเอาชนะ แต่หากเราไม่ทำผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น เราก็จะสามารถเอาชนะอุปสรรค์นั้นได้